วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

๗.พระสมันตะมหาปัฏฐาน (ตอน ๔)


สัมปะยุตตะ  ปัจจะโย,
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด  เพราะอาศัยกุศลธรรม  กุศลธรรมย่อมเกิดขึ้นด้วย
เครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุ  เกิดพร้อมกันแล้วดับพร้อมกัน  ประกอบด้วย
ขันธ์ ๔  ขันธ์ไม่มีรูปปรากฏภายนอก

     ถ้าเวทนาแลสัญญาเกิดขึ้น  สังขารแลวิญญาณ  ก็เกิดขึ้นด้วย

     สังขารแลวิญญาณเกิดขึ้น  เวทนาแลสัญญาก็เกิดขึ้นด้วย

          -  เวทนา  คือ  การเสวยอารมณ์ความรู้สึกเป็นสุข  เป็นทุกข์หรือ
         ไม่ทุกข์ไม่สุข

          -  สัญญา  คือ  ความได้หมายรู้  จำรูป  เสียง  กลิ่น  รส  สัมผัส

          -  สังขาร  คือ  ความคิด  ความมีเจตนาดีบ้าง  
          ชั่วบ้าง  (เจตสิก ๕๒ ดวง)

          -  วิญญาณ  คือ  ความรับรู้อารมณ์ทางตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  ใจ 
          (จิต ๘๙  หรือ ๑๒๑  ดวง)

          (รูป  คือ  ร่างกายอันสงเคราะห์ด้วยธาตุ ๔ คือ  ดิน  น้ำ  ไฟ  ลม  
         ประชุมเป็นกายพร้อมทั้งรูปที่อาศัยธาตุทั้ง ๔  ปรากฏ  เช่น  
         ความเป็นหญิง  ความเป็นชาย)

วิปปะยุตตะ  ปัจจะโย,
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด  มีรูป  ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่ไม่มีรูป  ธรรมที่ไม่มีรูป  
ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมมีรูป

อัตถิ  ปัจจะโย,
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด  เพราะอาศัยกายอันประกอบด้วย ดิน  น้ำ  ไฟ  ลม  
มีเวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ  เป็นปัจจัยซึ่งกันและกันตั้งอยู่ได้ ๑ ปีบ้าง 
๑๐ ปีบ้าง  ๕๐ ปีบ้าง  ๑๐๐ ปีบ้าง  ก็เสื่อมสลายไป (ตาย)  อันจัดเป็นบุคคล
เจ้ามารยา  ให้มหาชนเหลวไหล  ย่อมสำแดงรูปไม่จริงให้เป็นของจริง  
ล่อใจเป็นสตรีบุรุษ  ติดพันอยู่ในสมมุติ  แน่นหนา  หลงรัก  หลงชัง  ต้องบริหาร
ด้วยผ้านุ่งห่ม  อาหาร  ที่อยู่อาศัย  ยารักษาโรค  ด้วยกรัชกายต้องบำบัดเวทนา
ทั้ง ๔  ด้วยเปลี่ยนอิริยาบทยืน  เดิน  นั่งนอน  พักผ่อนแก้เมื่อยขบ  ไม่รู้จบรู้สิ้นนี้

นัตถิ  ปัจจะโย,
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด  จิตและเจตสิกดับไปในขณะกระชั้นชิด  ย่อมเป็นปัจจัย
แห่งธรรมที่จิตและเจตสิกเกิดขึ้นเฉพาะหน้า  อันว่าเป็นจิตและเจตสิก  คือ

           -  จิต  คือ  ธรรมชาติที่เป็นรูปรับและส่งผลของเจตสิก  ให้เกิดกรรม
ทั้งกลางคืนและกลางวัน  ภพนี้และภพหน้ามีจำนวน ๘๙ ดวง  (๑๒๑  ดวง)

           -  เจตสิก  คือ  ธรรมชาติที่เป็นรูปส่งและรับประกอบกับจิต  ส่วนดี
เรียกว่า  กุศล  ส่วนชั่วเรียกว่า  อกุศล  เป็นกลาง ๆ  ไม่ดีไม่ชั่วเรียกว่า  
อัพพยากฤต  มี ๕๒  ดวง

วิคะตะ  ปัจจะโย,
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด  จิตแลเจตสิกย่อมพ้นไปหมดไป  ในขณะกระชั้นชิด  
ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าโดยฐานะ

อะวิคะตะ  ปุจจะโย,
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด  เป็นเครื่องสนับสนุนที่ไม่ปราศจาก  ไม่พ้นไป  หมด
ไปของธรรมชาติที่รู้อารมณ์  (จิตเจตสิก)  ตามสภาพความนึกคิด  เข้าประกอบ
กับอาการเกิด  ความโลภ  ความโกรธ  ความหลง  เมตตา  สติ  ปัญญา ดังนี้.



                                         จบพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์

..........................................................

คัดลอกจาก....หนังสือธรรมานุสรณ์
ทำวัตร  สวดมนต์  ธรรมภาวนา
วัดถ้ำแฝด  ต.เขาน้อย  อ.ท่าม่วง  จ.กาญจนบุรี





















วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556

พระสมันตะมหาปัฏฐาน (ตอน ๓)


วิปากะ  ปัจจะโย,
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด  บุคคลได้กระทำแล้วด้วยกุศลจิต  อกุศลจิต  
ย่อมมีผลเป็นวิบากกรรมอาศัย  ทำดีมีวิบากเป็นกุศล  ทำชั่วมีวิบาก
เป็นอกุศล  เกิดวิปฏิสารเดือดร้อนใจทั้งภพนี้แลภพหน้า

อาหาระ  ปัจจะโย,
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด  มีปัจจัยอันนำมาซึ่งผล  เป็นเครื่องหล่อ
เลี้ยงชีวิต  ๔  ปรกการ  คือ

          -  กวฬิงการาหาร  อาหาร  คือ  คำข้าวที่กลืนกินเข้าไปหล่อ
             เลี้ยงร่างกาย  อาหารที่เป็นวัตถุ

          -  ผัสสาหาร  อาหาร  คือ  ผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา  
             มีอายตนะภายใน  อายตนะภายนอก  และวิญญาณกระทบกัน  
             ย่อมเกิดเป็นสุขบ้าง ทุกข์บ้าง  เป็นอุเบกขาบ้าง

          -  มโนสัญเจตนาหาร  อาหาร  คือ  ความจงใจกระทำให้เกิดกรรม  
             ให้พูด ให้คิดและให้กระทำ

          -  วิญญาณาหาร  อาหาร  คือ  วิญญาณ  เป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป  
             ตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  ใจ  แลรูป  รส  กลิ่น  เสียง  สัมผัส  
             ธรรมารมณ์  ดังนี้

อินทรียะ  ปัจจะโย,
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด  ทรงไว้ซึ่งความเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน

         -  ตา  เป็นใหญ่ในการเห็น รูป

         -  หู  เป็นใหญ่ในการได้ยิน

         -  จมูก  เป็นใหญ่ในการได้กลิ่น
        
         -  ลิ้น  เป็นใหญ่ในการลิ้มรส

         -  กาย  เป็นใหญ่ในการสัมผัส

         -  ใจ  เป็นใหญ่ในการรู้อารมณ์ยินดีไม่ยินดี

         -  สัทธา  เป็นใหญ่ในการเชื่อในพระรัตนตรัย

         -  วิริยะ  เป็นใหญ่ในความเพียร

         -  สติ  เป็นใหญ่ในการตั้งอยู่่ในความระลึกรู้

         -  ปัญญา  เป็นใหญ่ในความรู้สภาวะตามความเป็นจริง
            ของธรรมชาตินั้น

ฌานะ  ปัจจะโย,
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด  อันบุคคลกระทำแล้วด้วยการเพ่งอารมณ์จิตเป็นหนึ่ง  
มีอัปปนาสมาธิเป็นบาทแล้ว  เมื่อนั้นย่อมมีองค์ฌานบังเกิดขึ้น  คือ

         -  ปฐมฌาน  มีวิตก  วิจาร  ปิติ  สุข  เอกัคคตาา

         -  ทุติยฌาน  มีปิติ  สุข  เอกัคคตา

         -  ตติยฌาน  มีสุข  เอกัคคตา

         -  จตุตถฌาน  มีเอกัคคตา  แลอุเบกขา

         -  อากาสานัญจายตนฌาน  กำหนดอากาศหาที่สุดมิได้

         -  วิญญานัญจายตนฌาน  ฌานกำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้

         -  อากิญจัญยายตนฌาน  ฌานกำหนดภาวะไม่มีอะไร

         -  เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน  ฌานกำหนดภาวะมีสัญญา
            ก็ไม่ใช่  ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่

มัคคะ  ปัจจะโย,
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด  อันบุคคลกระทำแล้วปฏิบัติแล้ว  ย่อมถึงความดับทุกข์  
ย่อมถึงความเป็นอริยบุคคล  ละสังโยชน์ด้วยประการต่าง ๆ  ด้วยพระอริย
อัฏฐังคิกมรรค ๘  ประการ  คือ

        -  สัมมาทิฏฐิ  ปัญญาเห็นชอบในอริยสัจจ์สี่  ปัญญาเห็นชอบตามความ
           เป็นจริงว่า  ขันธ์ ๕  ไม่เที่ยง  ทำชั่วทำดีย่อมมีผล ดังนี้

        -  สัมมาสังกัปปะ  ความดำริที่จะออกจากกาม  จากโลภะ  โทสะ  โมหะ 
           ดำริในอันไม่พยาบาท  ดำริในอันไม่เบียดเบียน ดังนี้

        -  สัมมาวาจา  การเจรจาชอบ  เว้นประพฤติทางวาจา  ด้วยการพูดเท็จ  
           พูดส่อเสียด  พูดคำหยาบ  แลพูดเพ้อเจ้อ  ดังนี้

        -  สัมมากัมมันตะ  การงานชอบ  เว้นประพฤติชั่วทางกาย  ด้วยการฆ่าสัตว์  
           ลักทรัพย์  ประพฤติผิดในกาม  ดังนี้

        -  สัมมาอาชีวะ  การเลี้ยงชีวิตชอบ  เว้นจากการเลี้ยงชีวิตที่ผิดด้วย
           การโกงเขา  หลอกลวงเขา  สอพลอเขา  บีบบังคับขู่เข็ญเขา   ค้าคน  
           ค้ายาเสพติด  ค้ายาพิษ  สุรา  ดังนี้

        -  สัมมาวายามะ  ความเพียรชอบ  เพียรระวังบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด  
           มิให้เกิดขึ้น  (สังวรปธาน),  เพียรละบาป  อกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว  
           (ปหานปธาน),  เพียรเจริญทำกุศลกรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น  
           (ภาวนาปธาน),  เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว  ไม่ให้เสื่อมไปและ
           เพิ่มให้ไพบูลย์ (อนุรักขนาปธาน)  ดังนี้

        -  สัมมาสติ  ความระลึกชอบด้วยข้อปฏิบัติ  มีสติเป็นประธาน  กำหนด
           พิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง  ไม่ถูกครอบงำด้วย
           ความยินดียินร้าย  ด้วยอำนาจกิเลส  มี  ๔  ประการ  คือ

                  *  กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน  การตั้งสติกำนหดพิจารณากำกับรู้
                      เท่าทันกาย  แลเรื่องทางกาย

                  *  เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน  การตั้งสติกำหนดพิจารณากำกับ
                      รู้เท่าทันเวทนา                  

                  *  จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน  การตั้งสติกำหนดพิจารณารู้เท่าทันจิต
                      หรือสภาพและอาการของจิตนั้น

                  *  ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน  การตั้งสติกำหนดพิจารณากำกับดูรู้
                      เท่าทันธรรมนั้น

         -  สัมมาสมาธิ  การตั้งจิตมั่นชอบ  ด้วยการเพ่งอารมณ์  จนใจแน่วแน่  
            ย่อมบรรลุถึงฌาน ๔ ดังนี้.




.....................................
    


(ยังมีต่ออีก)







          



















        

วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556

พระสมันตะมหาปัฎฐาน (ตอน ๒)


ปุเรชาตะ  ปัจจะโย,
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด  มีอุปการะแก่ธรรมบังเกิดขึ้นก่อนแล้ว
เป็นปัจจัยอันเกิดขึ้นภายหลัง  คือ

          -  จักขุปสาท  บังเกิดก่อน  ย่อมเป็นปัจจัยให้  จักขุวิญญาณเกิด

       
          -  โสตปสาท  บังเกิดก่อน  ย่อมเป็นปัจจัยให้  โสตวิญญาณเกิด
       
          -  ฆานปสาท  บังเกิดก่อน  ย่อเป็นปัจจัยให้  ฆานวิญญาณเกิด
       
          -  ชิวหาปสาท  บังเกิดก่อน  ย่อมเป็นปัจจัยให้  ชิวหาวิญญาณเกิด
       
          -  กายปสาท  บังเกิดก่อน  ย่อมเป็นปัจจัยให้  กายวิญญาณเกิด
       
          -  หทัยวัตถุ  บังเกิดก่อน  ย่อมเป็นปัจจัยให้  มโนธาตุวิญญาณเกิด
             (ปสาทะ  ความเลื่อมใส  ผ่องใส  ชื่นบาน  โปร่งโล่งบาง
             ปราศจากความอึดอัดขุ่นมัว)

ปัจฉาชาตะ  ปัจจะโย,

ธรรมทั้งหลายเหล่าใด  บังเกิดภายหลัง  ย่อมเป็นอุปการะ
แก่ธรรมอันเกิดก่อน  คือ

          -  จักขุวิญญาณ  บังเกิดก่อน  ย่อมเป็นปัจจัยให้  จักขุปสาทเกิด

     
          -  โสตวิญญาณ  บังเกิดก่อน  ย่อมเป็นปัจจัยให้  โสตปสาทเกิด
       
          -  ฆานวิญญาณ  บังเกิดก่อน  ย่อมเป็นปัจจัยให้  ฆานปสาทเกิด
       
          -  ชิวหาวิญญาณ  บังเกิดก่อน  ย่อมเป็นปัจจัยให้  ชิวหาปสาทเกิด
       
          -  กายวิญญาณ  บังเกิดก่อน  ย่อมเป็นปัจจัยให้  กายปสาทเกิด
     
          -  มโนวิญญาณ  บังเกิดก่อน  ย่อมเป็นปัจจัยให้  หทัยวัตถุเกิด

อาเสวะนะ  ปัจจะโย,

ธรรมทั้งหลายเหล่าใด  มีการเสพซึ่งอารมณ์ต่ ๆ กันไป  จิตอันใดเกิดก่อน
ย่อมเป็นปัจจัยให้จิตอันนั้นบังเกิดภายหลัง

          -  ปฐมฌาน  เกิดแล้ว  ด้วยสิ่งใดเป็นอารมณ์  จะเป็นรูป  เสียง

             กลิ่น  รส  สัมผัส  ทุติยฌานจะบังเกิดขึ้น
     
          -  ทุติยฌาน  เกิดขึ้นแล้ว  ตจิยฌานจะบังเกิดขึ้น
       
          -  ตติยฌาน  เกิดขึ้นแล้ว  จตุตถฌานจะบังเกิดขึ้น
     
          -  จตุตถฌาน  เกิดขึ้นแล้ว  อากาสานัญจายตนฌานจะบังเกิดขึ้น
       
          -  อากาสานัญจายตนฌาน  เกิดขึ้นแล้ววิญญานัญจายตน
             ฌานจะบังเกิดขึ้น
     
          -  วิญญาณัญจายตนฌาน  เกิดขึ้นแล้ว  อากิญจัญญายตน
             ฌานจะบังเกิดขึ้น
       
          -  อากิญจัญญายตนฌานะ เกิดขึ้นแล้ว  เนวสัญญานา
             สัญญายตนฌาน  จะบังเกิดขึ้น  ดังนี้

กัมมะ  ปัจจะโย,

ธรรมทั้งหลายเหล่าใด  มีกุศลจิตเป็นปัจจัยให้บังเกิดปฏิสนธิแห่งสัตว์ทั้งปวง
ในกามาวจภพ  แลอรูปาวจรภพ  ฉันใดธรรมอันเป็นอกุศลย่อมเป็นปัจจัยให้เกิด
ปฏิสนธิในจตุรบาย  นรก  เปรต  อสุรกาย  สัตว์เดรัจฉาน  ฉันนั้น
กรรม  คือ  การกระทำที่เป็นกุศล  อกุศลแลอัพยากฤต  ย่อมจำแนกประเภท
ดังนี้ ว่า

            -  ทิฏฐธัมมะเวทนิยกรรม  กรรมอันบุคคลกระทำแล้ว  ย่อมให้ผลใน

               ชาติปัจจุบันทันใด  มิต้องรอในภพชาติต่อไป,

            -  อุปปัชชเวทนิยกรรม  กรรมอันบุคคลกระทำแล้ว  ย่อมให้ผลใน

               ชาติต่อไปเป็นลำดับจากชาติปัจจุบัน

           -  อปราปรเวทนิยกรรม  กรรมอันบุคคลกระทำแล้ว  ย่อมให้ผล

              ในภพน้อยภพใหญ่  สิบชาติ  ร้อยชาติ  พันชาติ  หมื่นชาติ
              แสนชาติบ้าง  ได้ช่องได้โอกาสเมื่อใดก็ให้ผลเมื่อนั้น
              ดุจนายพรานปล่อยสุนัขไล่เนื้อ  ทันเมื่อไรก็กัดเมื่อนั้นแล

           -  ครุกรรม  กรรมอันบุคคลกระทำแล้วในฝ่ายกุศลฌานสมาบัติ

              ย่อมสำเร็จประโยชน์  กรรมหนักในฝ่ายอกุศลอนันตริยกรรม
              ย่อมมีทุคติเป็นที่ไปฝ่ายเดียว

           -  พหุลกรรม  กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยความเคยชิน  กระทำเนือง ๆ

              ก็ดี  ค่อย  ๆ  มากขึ้นก็ดี  กุศลแลอกุศลย่อมครอบงำเสีย  กรรมฝ่ายไหน
              มีกำลังมากก็ครอบงำฝ่ายนั้น

           -  ยถาสันนกรรม  กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยกุศลแลอกุศล  เมื่อใกล้

              ดับขันธ์ก็ดี  แม้ฝ่ายไหนมีกำลังน้อย  ก็อาจให้ผลก่อนกรรมทั้งปวง  
              (เสมือนโคเฒ่า แต่อยู่ปากคอก อาจจะออกจากคอกก่อน  ทำบาปมาก 
              บุญช่วยก่อนตาย)

           -  กตัตตาปนกรรม  กรรมอันบุคคลกระทำแล้วโดยสักแต่ว่าทำ  กรรมที่

              เป็นกุศลแลอกุศลก็ตาม  มิได้จงใจให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้  ย่อมให้ผล
              ต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่น  เปรียบเสมือนคนบ้ายิงลูกศร  ย่อมไม่มีความหมาย
              จะให้ถูกใคร

           -  ชนกกรรม  กรรมอันบุคคลกระทำแล้ว  ที่เป็นกุศลแลอกุศล  ย่อมเป็น

              ตัวแต่งสัตว์ให้ถือกำเนิดเกิดในภพใหม่  เมื่อสิ้นอัตภาพภพนี้  หรือกรรม
              ปฏิสนธิแห่งสัตว์ทั้งปวง  ตามติดมาสนองในชาติปัจจุบัน

           -  อุปัตถัมภกกรรม  กรรมอันบุคคลกระทำแล้ว  ที่เป็นกุศลแลอกุศล ที่เข้า

              ช่วยสนับสนุนซ้ำเติมต่อจากชนกกรรม  เสมือนแม่นมเลี้ยงทารกที่เกิด
              จากผู้อื่น  ถ้ากรรมดีก็สนับสนุนให้ดีขึ้น  ถ้ากรรมชั่วซ้ำเติมย่อมเลวลงไป

           -  อุปปัฬกกรรม  กรรมอันบุคคลกระทำแล้ว  ที่เป็นกุศลแลอกุศล  ย่อมบีบ

              คั้นการให้ผลแห่งชนกกรรม  และอุปัตถัมภกกรรมที่ตรงข้าม  ให้แปรเปลี่ยน
              ไป  เป็นกรรมดีก็บีบคั้นให้อ่อนลง  ไม่รับผลเต็มที่  เป็นกรรมชั่วก็กีดกัน
              ให้ทุเลา  ดังนี้

           -  อุปฆาตกรรม  กรรมอันบุคคลกระทำแล้ว  ที่เป็นกุศลแลอกุศล  เข้ามา
              ตัดรอนกรรมที่มีกำลังแรง  เข้าตัดรอนการให้ผลของชนกกรรม  หรือ
             อุปัตถัมกกรรม  เป็นกรรมที่ฆ่าซึ่งกรรมอันอื่น  แล้วแลอุปฆาตกรรมจะให้
             ผลด้วยตนเอง



...................................