(๑๓ วัน เทพพรหมสำเร็จ ๗ โกฏิ)
(ปรารภปฐมปริศนา)
ปางเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงพระอาวัชชนาการแจ้งว่า นานไปเบื้องหน้า
พระศาสนาล่วงไป ๒๐๘ พระพรรษา จะบังเกิดมีสาวกชื่อ พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ
ประกอบด้วยปัญญาวิสารทะ จะยกตติสังคายนาแกล้วกล้าเฉลียวฉลาดหลักแหลม
แล้วจะยกเอาพระสูตรของสกวาที (ผู้ถาม) ห้าร้อยสูตร พระปรวาที (ผู้ตอบ)
ห้าร้อยสูตร มาสำแดงจัดแจงมาติกาไว้ จึงพระผู้มีพระภาคเจ้ายกเป็นปุจฉา
วิสัชนาพอสังเขป กระทำอาการดุจอาจารย์ทั้งสองพระองค์ตรัส ถามตอบซึ่งกันและกันว่า
ปุคคะโต อุปะลัมภะติ สัจฉิกัตถะ
ปะระมัตเถนาติ, (ถาม)
ดูกรอาจารย์ สัตว์ทั้งหลายย่อมมาสำคัญในรูปกายว่า ผู้นั้นเป็นชาย
ผู้นี้เป็นหญิง สำคัญเอาว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลมีจริงหรือไม่ประการใด
อามันตา, (ตอบ)
เออ มีจริงดังถ้อยคำท่านกล่าวมากระนั้น
โย สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ ตะโต
ดูก่อนท่าน ซึ่งคำว่าชาย หญิง ว่าสัตว์ ว่า
โส ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิ กัตถะปะระมัตเถนาติ, (ถาม)
บุคคล มีโดยปรมัตถ์นั้น สิ่งเดียวอันใดเล่า ที่จัดเป็นสัตว์ เป็นบุคคล
ขันธ์ทั้ง ๕ หรือ อายตนะ ๑๒ หรือ ธาตุทั้ง ๑๘ หรืออินทรีย์ ๒๒ หรือทั้งหมดเหล่านี้
หรือที่ได้ชื่อว่าสัตว์ ว่าบุคคล
นะ เหวัง วัตัพเพ, (ตอบ)
ท่านไม่ควรกล่าวอย่างนี้ ไม่ชอบด้วยเหตุและผล ขันธ์แลธาตุ แลอายตนะ
แลอินทรีย์มิได้, ที่เราว่าหญิงว่าชาย ว่าสัตว์ ว่าบุคคลว่าตัวตนเราเขา
เราเห็นในพระสูตตันตปิฎกสิว่าไว้ ว่าหญิงชื่อนั้น ชายชื่อนั้น กระทำบาปสิ่งนั้น
ไปเกิดในทุคติภูมิอยู่ที่ตรงนั้น ๆ ได้ไปแล้วเสวยรมย์ชมสมบัติอย่างนั้น
กระทำบุญสิ่งนั้น ๆ ได้ไปแล้วเสวยรมย์ชมสมบัติอย่างนั้น ๆ พระสูตรท่านว่าไว้
แต่ล้วนเช่นนี้ เราจึงกล่าวว่าหญิงชาย มีจริง ๆ
อาชานาหิ นิคคะหัง, (ถาม)
เดิมทีสิเราถามท่านโดยปรมัตถ์ ท่านรับว่ามีจริงแล้ว เหตุไฉนท่านมากลับเสียเล่า
ว่าเรามิได้ว่าโดยปรมัตถ์ ท่านจงรับนิคคหะเถิด (การข่ม การกำหราบ การลงโทษ)
หัญจิ ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะ
ปะระมัตเถนะ เตนะ วะตะเร
วัตตัพเพ, (ถามกลับ)
ดูก่อน อาจารย์เราจะถามท่านบ้าง ถ้าจะว่าโดยปรมัตถ์นั้น ไม่ได้ชื่อว่าหญิง
ว่าชาย ว่าสัตว์ ว่าบุคคล จริงกระนั้นหรือ
โยสัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ ตะโต โส ปุคคะโล
อุปะลัพเภติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ
มิจฉา (ตอบกลับ)
จริงตามที่ว่ากระนั้น ถ้าจะว่าโดยปรมัตถ์ ก็เป็นขันธ์เป็นธาตุ เป็นอายตนะ
เป็นอินทรีย์ สมมุติสัจจะกับปรมัตถ์สัจจะอาศัยกันแลกัน มีครุวนาดุจเสียง
อันลั่นอยู่ในป่า จะบังเกิดมีก็อาศัยแก่เสียงอันลั่นอยู่ในป่า จะบังเกิดมีก็อาศัยแก่เสียงบุคคลอันยืนอยู่ริมป่า แล้วแลร้องกู่ก้องไป ปรากฎก้องดุจผู้กู่ตอบมา เสียงก้องคือเสียงกู่ เสียงกู่คือเสียงก้อง สมมุติสัจจะปรมัตถ์สัจจะโดยความหมายอันแท้จริง จึงไม่ผิดจากอุปมัย นี้แล.
......................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น