วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

๖. พระยมก


(๑๓ วัน  เทพพรหมสำเร็จ ๘ โกฎิ)

"พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว  ซึ่งพระยมกประดับ
ด้วยห้าพันหนึ่งร้อยธรรมขันธ์ พระยมกที่ทรงแสดงโดยอรรถว่าโดย
คู่บาลีก็เป็นคู่  วิสัชนาก็เป็นคู่  นี้เรียกว่า  พระยมก
ประกอบด้วยธรรม  ๑๐  ประการ  คือ

          -  มูลยมกะ  ว่าโดยอรรถเป็นคู่  บาลีเป็นคู่  ปุจฉาเป็นคู่  ดุจไม้รังทั้งคู่
              ทั้งแสดงโดยย่อ (อุเทส)  แสดงโดยแก้ไขแจกแจง (นิเทศ)

          -  ขันธยกมะ  ว่าโดยขันธ์ทั้ง ๕  (แสดงเป็นคู่)

          -  อายตนะยมกะ  ว่าโดยอายตนะ ๑๒  (เป็นคู่กัน)

          -  ธาตุยมกะ  ว่าโดยธาตุ  ๑๘

          -  สัจจยมกะ  ว่าโดยจตุราริยสัจจะทั้ง ๔

          -  สังขารยมกะ  ว่าโดยสังขาร ๓  (กายสังขาร  วจีฯ  มโนฯ)

          -  อนุสัยยมกะ  ว่าโดยอนุสัย  ๗  (กามราคานุสัย เป็นประธาน)

          -  จิตตยมกะ  ว่าโดยจิต

          -  ธัมมยมกะ  ว่าโดยเจตสิกธรรม ๕๒

          -  อินทรีย์ยมกะ  ว่่าโดยอินทรีย์ ๑๒  พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถาม (ปุจฉา)
             มูลยมกะ  ว่า

เย  เกจิ  กุสะลา  ธัมมา,
ธรรมบางเหล่าเป็นกุศล

สัพเพ  เต  กุสะละมูลา,
ธรรมทั้งหลายทั้งมวล  มีกุศลเป็นมูล

เย  วา  ปะนะ  กุสะละมูลา,
ธรรมทั้งหลายหมู่ใดเป็นกุศล  ธรรมหมู่นั้นแหละเป็นมูลแห่งกุศล  คือ

        -  อโลโภ  ละความโลภ  ย่อมให้สรรพสิ่งเป็นทาน

        -  อโทโส  ละความโกรธ  ย่อมรักษาศีลบริสุทธิ์เป็นอันดี

        -  อโมโห  ละความหลง  ย่อมเจริญเมตตาปฏิบัติภาวนา

สัพเพ  เต  ธัมมา  กุสะลา,
ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น  ล้วนเป็นกุศลหมดทั้งสิ้น

เยเกจิ  กุสะลา  ธัมมา,
ธรรมบางเหล่าเป็นกุศล

สัพเพ  เต  กุสะละมูเล  นะ
ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดมีมูลอันเดียวกับธรรม

เอกะมูลา,
ที่มีกุศลเป็นมูล

เยวา  ปะนะ  กุสะละมูเล  นะ
อีกอย่างหนึ่งธรรมเหล่าใด  มีมูลอันเดียวกับ

เอกะมูลา,
ธรรมที่เป็นกุศล  จะเป็นกามาวจรกุศลก็ดี  รูปาวจรกุศลก็ดี  อรูปวจรกุศลก็ดี  
กามาวจรกุศล  คือ  กุศลบำเพ็ญทาน  ศีล  ภาวนา  สดับฟังพระสัทธรรม  
รูปาวจรกุศล  คือ  กุศลที่เจริญรูปฌาน  มีองค์  ๔  คือ

          -  ปฐมฌาน  ประกอบด้วยองค์  ๕  คือ
             วิตก  วิจาร  ปิติ  สุข  เอกัคคตา

          -  ทุติยฌาน  ประกอบด้วยองค์  ๓  คือ
              ปิติ  สุข  เอกัคคตา

          -  ตติยฌาน  ประกอบด้วยดงค์  ๒  คือ  
             สุข  เอกัคคตา

          -  จตุตถฌาน  ประกอบด้วย
              เอกัคคตา  แลอุเบกขา  (ฌาน-เพ่ง)

-  วิตก  มีลักษณะยกจิตขึ้นสู่อารมณ์  (เหมือนก่อนตีระฆัง)

-  วิจาร  มีลักษณะพิจารณาอารมณ์นั้นเนือง ๆ  (ตีระฆังเสียงครวญ)

-  ปิติ  มีลักษณะอิ่มใจ  ชุ่มใจ  บังเกิดปิติ  ๕  ประการ  คือ

  • พระขุททกาปิติ  ขนพองสยองเกล้า
  • พระขณิกาปิติ  แสงปรากฏดุจสายฟ้าแลบ
  • พระโอกกันติกาปิติ  ดุจคลื่นกระทบฝั่งแล้วอันตรธานหายไป
  • พระอุเพงคาปิติ  ดุจกายลอยไปในนภากาศ
  • พระผรณาปิติ  เย็นกาย  น้ำตาไหล  ซึมซาบทั่วสรรพางค์กาย
-  สุุุข  มีลักษณะสืบต่อจากปิติ  บังเกิดกล้าหาญอยู่ในสันดาน
  • กายปัสสัทธิ  สุขเกิดจากความสงบกาย
  • จิตปัสสัทธิ  สุขเกิดในอารมณ์แลบังเกิด  ขณิกสมาธิ  อุปจารสมาธิ แลอัปนาสมาธิในที่สุด
-  เอกัคคตา  มีลักษณะกระทำให้แน่วแน่อยู่ในอารมณ์เดียว  
   จิตมิได้ซัดส่ายฟุ้งซ่านรำคาญใจ

-  อุเบกขา  มีลักษณะวางเแย  ไม่ยินดียินร้ายใน  รูป  รส  กลิ่น  เสียง  
   สัมผัส  แลเป็นวิปัสสนาปัญญาในการพิจารณาสังขารธรรม

สัพเพ  เต  ธัมมา  กุสะลา,
ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น  ล้วนเป็นกุศลหมดทั้งสิ้น.


........................................
           


         





















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น