ปุถุชะโน,
คือ บุคคลที่มีสันดานหนาไปด้วยกิเลสนานาประการ
แลถูกรัดรึงด้วยสังโยชน์ มีประการต่าง ๆ เป็นเจ้าเรือน
มีกิเลสเป็นเจ้ากรรม คือ
- โลโก ความโลภเพ่งเล็งอยากได้ของเขา
- โทโส ความประทุษร้ายทำลายเขา
- โกโธ ความโกรธเคืองเขา แม้ว่าเพียงเล็กน้อยก็
ปล่อยอารมณ์โกรธเคือง
- มาโน ความเย่อหยิ่งถือเขาถือเราถือตัวถือตน
- ทิฏฐิ ความเห็นผิด ยึดมั่นถือมั่นในทิฏฐินั้น
- ทุพพะโจ ความเป็นผู้ว่ายากสอนยาก
- ปาปมิตโต ความเป็นผู้ชอบคบคนพาลเป็นมิตร
เมาเหล้าเมายาการพนัน
- ติดโต ความเป็นผู้ตระหนี่ในทานบริจาคบริโภคเฉพาะตน
- ถัมโภ ความแข็งกระด้างดื้อดึง เมื่อเขาสั่งสอนว่า
กล่าวโดยธรรม โดยชอบ
- อะติมาโน ความดูถูกล่วงเกินผู้อื่น
- มะโท ความเมาหลงในร่างกายที่ป่วยไข้อยู่เป็นนิจ
ต้องกินยาและข้าวน้ำทุกเช้าค่ำ มาสำคัญว่าไม่มีโรค
- มายา ความเป็นคนเจ้าเล่ห์เจ้ากล
- ถีนัง ความเป็นผู้เงียบเหงาซบเซา
- อะหิริกัง ความเป็นผู้ไม่ละอายต่อบาปอกุศล
- อโนตตัปปัง ความเป็นผู้ไม่เกรงกลัวต่อบาปอกุศล
ก็แลสังโยชน์อันเป็นกรรม ผูกมัดรัดรึงสัตว์ไว้ในสังสารวัฏฏ์
ให้สัตว์และมนุษย์ทั้งหลายเวียนเกิดเวียนตายอยู่สิ้นกาลนาน
ธรรมนี้แหละได้ชื่อว่าสังโยชน์ ๑๐ ประการ คือ
- สักกายะทิฏฐิสังโยชน์ ความเห็นผิดยึดมั่นถือมั่นในสิ่งผิด ถือตัวถือตน (ตัวกูของกู)
- วิจิกิจฉาสังโยชน์ ความเป็นผู้สงสัยในพระรัตนตรัย สงสัยในผลทานผลศีลผลภาวนา ผลแผ่เมตตา นั่นเป็นพุทธพจน์ นั่นไม่ใช่พุทธพจน์ ทำความเห็นเข้าข้างตนเอง ให้เกิดความเคลือบแคลงในธรรมทั้งหลาย
- สีลัพพัตตปรามาสสังโยชน์ ความเป็นผู้ถือไปในลัทธิเดียรถีร์นิครน เลื่อมใสในการทรงเจ้าเข้าผี แลยึดถือว่าบุคคลจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ด้วยศีลแลวัตร คือถือว่าเพียงประพฤติศีลแลวัตรให้เคร่งครัด ก็จะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ไม่ต้องอาศัยซึ่งสมาธิ แลปัญญา
- กามราคะสังโยชน์ ความเป็นผู้มีตัณหาอันมีลักษณะให้ปรารถนากิเลสกาม วัสดุกาม (วัตถุกาม) ปรารถนาจะใคร่ชมเชยกามราคะ ดำกฤษณา ปรารถนาเครื่องนุ่งห่ม เครื่องประดับถนิมพิมพ์ภรณ์ เครื่องใช้เครื่องสอยอันประกอบด้วยวิญญาณ แลหาวิญญาณมิได้ ปรารถนาจะใคร่มียศศักดิ์บรรดาศักดิ์ เป็นเศรษฐีคฤหบดี ปรารถนาใคร่เป็นอินทร์เป็นพรหมเป็นบรมจักรพรรดิ์ ปรารถนาจะใคร่เสวยสมบัติอยู่ในกามภพ ย่อมไกลจากเมืองแก้ว ไม่คลาดแคล้วบ่วงมาร ย่อมไกลจากพระนิพพานเพราะกามราคะสังโยชน์
- ปฏิฆะสังโยชน์ ความที่จิตหงุดหงิดด้วยอำนาจโทสะ แล้วแลเกิดขึ้นเป็นสันดานให้ขึ้งเคียดเดียดฉันท์ ขัดเนื้อแค้นใจย่อมจะต้องเวียนเกิดเวียนตายในสังสารวัฏฏ์อยู่ตราบนั้นแล
- รูปราคะสังโยชน์ ความปรารถนาจะใคร่บังเกิดในรูปพรหม ด้วยเข้าใจผิดคิดว่าบังเกิดบนพรหมโลกย่อมไม่รู้แก่ รู้เจ็บ รู้ตาย จะมีแต่ความสบายถ่ายเดียว
- อรูปสังโยชน์ ความปรารถนาจะใคร่บังเกิดในอรูปพรหม แล้วจะถึงวิมุติสุขหลุดพ้นด้วยทุกข์ทั้งปวง
- มานะสังโยชน์ ความเย่อหยิ่งถือเขาถือเรา ถือตัว ถือตน มีอหังการมะมังการเป็นเจ้าเรือน ถือในลาภยศ สรรเสริญ สุข นิกาย หลงทาง หลงยึดศาสนา โมฆะ ย่อมวิบัติจากธรรม
- อุทธัจจะสังโยชน์ ความเป็นผู้มีสภาวะจิตจิตฟุ้งซ่าน ซัดส่ายในบาปอกุศล หากมีอยู่ในสันดานตราบใด ก็จะวนอยู่ในสังสารวัฏฏ์ไม่รู้จบสิ้น
- อวิชชาสังโยชน์ ความไม่รู้จริงอันปิดป้องกำบังไว้ด้วยปัญญาในพระไตรลักษณ์ คือ มิได้เห็นพระอนิจจัง พระทุกขัง พระอนัตตา มิได้เห็นผลแห่งการรักษาศีล จำเริญสมาธิภาวนา สดับฟังพระสัทธรรมเทศนา มิได้พิจารณาเห็นคุณแลโทษประโยชน์ แลมิใช่ประโยชน์ เพราะอวิชชาเป็นใหญ่ในสังโยชน์ทั้งปวง วนเกิดวนแก่ วนเจ็บ วนตาย ความโศกเศร้าร่ำไรรำพันก็จะบังเกิดมีอยู่ตราบนั้น ด้วยไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้เหตุแห่งทุกข์ ไม่รู้ความดับทุกข์ ไม่รู้ทางให้ถึงความดับทุกข์ ไม่รู้อดีตไม่รู้อนาคตและไม่รู้ปฏิจจสมุปบาทดังนี้แล
โคตระภู,
คือ บุคคลผู้มีปัญญากล้าหาญ ครอบงำเสียแล้วซึ่งปุถุชนคนธรรมดา
เจริญทาน ศีล ภาวนา มีปัญญารู้ตาม แล้วน้อมนำมาพิจารณา
เอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ เห็นคุณแลโทษ ได้รับประโยชน์เกือบ
ถึงความเป็นอริยบุคคลโดยแท้
เอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ เห็นคุณแลโทษ ได้รับประโยชน์เกือบ
ถึงความเป็นอริยบุคคลโดยแท้
ภะยูปะระโต,
คือ บุคคลผู้เห็นภัยในสังสารวัฏฏ์ งดเว้นความชั่วเพราะกลัวบาป
หมั่นเจริญทาน ศีล ภาวนา แลบรรลุถึงซึ่่งพระเสขะบุคคล ๗ ประเภท
(โสดามรรค - อรหัตตมรรค) แล้วบำเพ็ญเพียรปฏิบัติเสขะปฏิปทา
เพื่อบรรลุคุณวิเศษเป็นปริโยสาน
(โสดามรรค - อรหัตตมรรค) แล้วบำเพ็ญเพียรปฏิบัติเสขะปฏิปทา
เพื่อบรรลุคุณวิเศษเป็นปริโยสาน
......................................
(ยังมีต่ออีก)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น