"พระพุทธองค์ทรงแสดงอภิธรรม ๗ คัมภีร์ โปรดพุทธมารดาในพรรษาที่ ๗
บนชั้นดาวดึงษ์ ณ เบื้องบนบัณกัมพลศิลาอาสน์ ภายใต้ต้นปาริชาต
แต่ละบทที่พระองค์ทรงแสดงใช้เวลาในพื้นมนุษย์ถึง ๖ วันบ้าง ๒๓ วันบ้าง
ทั้ง ๗ พระคัมภีร์พระอภิธรรมนี้ยากที่บุคคลทั้งหลายจะฟังให้เข้าใจได้
คำแปลที่นำมาพิมพ์ในแต่ละบท จึงเป็นเพียงสังเขป แต่ทว่าถึงฟังไม่เข้า
เลยก็ดี แต่มีใจเลื่อมใสยินดี มีศรัทธาปรีดาอยู่แล้ว ก็มีผลานิสงส์มาก
กว่ามากนัก ยิ่งกว่าฟังพระสูตรและพระวินัย เหตุฉะนี้ ถ้าเข้าใจบ้างมีความ
เข้าใจบ้าง ก็สนใจฟังเถิด ดังจะเห็นได้จากที่พระพุทธองค์แสดงธรรมนี้
เป็นเหตุให้เทพพรหมเทวาที่มาสดับ ได้บรรลุธรรมสำเร็จเป็นพระอริยเทพ
พรหม ๗ โกฎิบ้าง ๔๐ โกฎิบ้าง ดังนี้" (๑โกฎิ = ๑๐ ล้าน)
(๑๒ วัน เทพพรหมสำเร็จ ๗ โกฎิ)
กุสะลา ธัมมา,
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด กำจัดเสียซึ่งลามกแลสิ่งอันพึงเกลียดพึงชัง
ทำลายเสียซึ่งบาปธรรม ปราศจากความเศร้าหมองเร่าร้อน ไม่มีโทษ
ให้ผลเป็นความสุข อันนั้นแหละได้ชื่อว่ากุศล,
อะกุสะลา ธัมมา,
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด ไม่กำจัดเสียซึ่งลากมกแลสิ่งอันพึงเกลียดพึงชัง
ทำลายเสียซึ่งบุญทั้งปวง มีความเศร้าหมองเร่าร้อนมีโทษ ให้ผลเป็น
ความทุกข์ อันนั้นแหละได้ชื่อว่าอกุศล,
อัพยา กะตา ธัมมา,
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสพยากรณ์ว่าเป็น
กุศลแลอกุศล ว่าเป็นกลาง ๆ เมื่อกุศลบังเกิดขึ้นก็ไม่บังเกิดขึ้นด้วย
เมื่ออกุศลบังเกิดก็ไม่บังเกิดขึ้นด้วย กิริยาจิตบังเกิดก็ไม่บังเกิดด้วย
วิบากจิตบังเกิดก็ไม่บังเกิดด้วย มีสภาวะเป็นกลาง ๆ ดังนี้
กะตะเม ธัมมา กุสะลา,
ธรรมเหล่าไหนเป็นกุศล,
ยัสมิง สะมะเย กามาวะจะรัง,
ในสมัยใด จิตที่ท่องเที่ยงไปในกามาวจรกุศล
กุสะลัง จิตตัง อุปันนัง โหติ,
บังเกิดขึ้นในสันดานแห่งบุคคลใด เกิดพร้อม
โสมะนัสสะสะหะคะตัง
ด้วยความโสมนัสยินดี ประกอบด้วย ปัญญา
ญาณะสัมปะยุตตัง,
ญาณ {(กามาวจรกุศล คือ กามภพ รูปภพ (พรหม) อรูปภพ (อรูปพรหม)}
รูปารัมมะณัง วา,
เมื่อบังเกิดในจักขุทวาร (ทางตา) ย่อมถือเอารูปเป็นอารมณ์,
สัททารัมมะณัง วา,
เมื่อบังเกิดทางโสตทวาร (ทางหู) ย่อมถือเอาเสียงเป็นอารมณ์,
คันธารัมมะณัง วา,
เมื่อบังเกิดทางฆานะทวาร (ทางจมูก) ย่อมถือเอากลิ่นเป็นอารมณ์,
ระสารัมมะณัง วา,
เมื่อบังเกิดทางชิวหาทวาร (ทางลิ้น) ย่อมถือเอารสเป็นอารมณ์,
โผฏฐัพพารัมมะณัง วา,
เมื่อบังเกิดทางกายทวาร (ทางกาย) ย่อมถือเอาผัสสะเป็นอารมณ์,
ธัมมารัมมะณัง วา,
เมื่อบังเกิดในมโนทวาร (ทางใจ) ย่อมถือเาสิ่งที่ตนควรจะรู้ด้วยจิตเป็นอารมณ์ (เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หยาบ ละเอียด)
ยัง ยัง วา ปะนารัพภะ,
ซึ่งอารมณ์ใด ๆ ก็ดี เป็นอารมณ์แห่งตน,
ตัสมิง สะมะเย ผัสโส โหติ,
ในสมัยนั้น อันว่าผัสสะเจตะสิก (ธรรมชาติที่เกิดจากจิต หรือประกอบกับจิตเป็นนิจชื่อว่า เจตะสิก) ก็บังเกิดมี.
อะวิกเขโป โหติ เย วา ปะนะ
อีกอย่างหนึ่งในสมัยนั้นธรรมเหล่าใด มี
ตัสมิง สะมะเย,
ความตั้งมั่นแห่งจิต ไม่ซัดส่ายไปในอารมณ์อันใด,
อัญเญปิ อัตปิ ปะฏิจจะสะมุปปันนา
อนึ่ง ธรรมเหล่าใดที่อาศัยการเกิดขึ้น ประ-
อะรูปิโน ธัมมา อิเม ธัมมา กุสะลา.
กอบด้วยเหตุด้วยผลเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน โดยไม่มีรูปอาศัย ธรรมทั้งหลายนี้ชื่อว่ากุศล.
........................................
คัดลอกจาก....หนังสือธรรมานุสรณ์
วัดถ้ำแฝด ต.เขาน้อย อ ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี.
บนชั้นดาวดึงษ์ ณ เบื้องบนบัณกัมพลศิลาอาสน์ ภายใต้ต้นปาริชาต
แต่ละบทที่พระองค์ทรงแสดงใช้เวลาในพื้นมนุษย์ถึง ๖ วันบ้าง ๒๓ วันบ้าง
ทั้ง ๗ พระคัมภีร์พระอภิธรรมนี้ยากที่บุคคลทั้งหลายจะฟังให้เข้าใจได้
คำแปลที่นำมาพิมพ์ในแต่ละบท จึงเป็นเพียงสังเขป แต่ทว่าถึงฟังไม่เข้า
เลยก็ดี แต่มีใจเลื่อมใสยินดี มีศรัทธาปรีดาอยู่แล้ว ก็มีผลานิสงส์มาก
กว่ามากนัก ยิ่งกว่าฟังพระสูตรและพระวินัย เหตุฉะนี้ ถ้าเข้าใจบ้างมีความ
เข้าใจบ้าง ก็สนใจฟังเถิด ดังจะเห็นได้จากที่พระพุทธองค์แสดงธรรมนี้
เป็นเหตุให้เทพพรหมเทวาที่มาสดับ ได้บรรลุธรรมสำเร็จเป็นพระอริยเทพ
พรหม ๗ โกฎิบ้าง ๔๐ โกฎิบ้าง ดังนี้" (๑โกฎิ = ๑๐ ล้าน)
(๑๒ วัน เทพพรหมสำเร็จ ๗ โกฎิ)
กุสะลา ธัมมา,
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด กำจัดเสียซึ่งลามกแลสิ่งอันพึงเกลียดพึงชัง
ทำลายเสียซึ่งบาปธรรม ปราศจากความเศร้าหมองเร่าร้อน ไม่มีโทษ
ให้ผลเป็นความสุข อันนั้นแหละได้ชื่อว่ากุศล,
อะกุสะลา ธัมมา,
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด ไม่กำจัดเสียซึ่งลากมกแลสิ่งอันพึงเกลียดพึงชัง
ทำลายเสียซึ่งบุญทั้งปวง มีความเศร้าหมองเร่าร้อนมีโทษ ให้ผลเป็น
ความทุกข์ อันนั้นแหละได้ชื่อว่าอกุศล,
อัพยา กะตา ธัมมา,
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสพยากรณ์ว่าเป็น
กุศลแลอกุศล ว่าเป็นกลาง ๆ เมื่อกุศลบังเกิดขึ้นก็ไม่บังเกิดขึ้นด้วย
เมื่ออกุศลบังเกิดก็ไม่บังเกิดขึ้นด้วย กิริยาจิตบังเกิดก็ไม่บังเกิดด้วย
วิบากจิตบังเกิดก็ไม่บังเกิดด้วย มีสภาวะเป็นกลาง ๆ ดังนี้
กะตะเม ธัมมา กุสะลา,
ธรรมเหล่าไหนเป็นกุศล,
ยัสมิง สะมะเย กามาวะจะรัง,
ในสมัยใด จิตที่ท่องเที่ยงไปในกามาวจรกุศล
กุสะลัง จิตตัง อุปันนัง โหติ,
บังเกิดขึ้นในสันดานแห่งบุคคลใด เกิดพร้อม
โสมะนัสสะสะหะคะตัง
ด้วยความโสมนัสยินดี ประกอบด้วย ปัญญา
ญาณะสัมปะยุตตัง,
ญาณ {(กามาวจรกุศล คือ กามภพ รูปภพ (พรหม) อรูปภพ (อรูปพรหม)}
รูปารัมมะณัง วา,
เมื่อบังเกิดในจักขุทวาร (ทางตา) ย่อมถือเอารูปเป็นอารมณ์,
สัททารัมมะณัง วา,
เมื่อบังเกิดทางโสตทวาร (ทางหู) ย่อมถือเอาเสียงเป็นอารมณ์,
คันธารัมมะณัง วา,
เมื่อบังเกิดทางฆานะทวาร (ทางจมูก) ย่อมถือเอากลิ่นเป็นอารมณ์,
ระสารัมมะณัง วา,
เมื่อบังเกิดทางชิวหาทวาร (ทางลิ้น) ย่อมถือเอารสเป็นอารมณ์,
โผฏฐัพพารัมมะณัง วา,
เมื่อบังเกิดทางกายทวาร (ทางกาย) ย่อมถือเอาผัสสะเป็นอารมณ์,
ธัมมารัมมะณัง วา,
เมื่อบังเกิดในมโนทวาร (ทางใจ) ย่อมถือเาสิ่งที่ตนควรจะรู้ด้วยจิตเป็นอารมณ์ (เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หยาบ ละเอียด)
ยัง ยัง วา ปะนารัพภะ,
ซึ่งอารมณ์ใด ๆ ก็ดี เป็นอารมณ์แห่งตน,
ตัสมิง สะมะเย ผัสโส โหติ,
ในสมัยนั้น อันว่าผัสสะเจตะสิก (ธรรมชาติที่เกิดจากจิต หรือประกอบกับจิตเป็นนิจชื่อว่า เจตะสิก) ก็บังเกิดมี.
อะวิกเขโป โหติ เย วา ปะนะ
อีกอย่างหนึ่งในสมัยนั้นธรรมเหล่าใด มี
ตัสมิง สะมะเย,
ความตั้งมั่นแห่งจิต ไม่ซัดส่ายไปในอารมณ์อันใด,
อัญเญปิ อัตปิ ปะฏิจจะสะมุปปันนา
อนึ่ง ธรรมเหล่าใดที่อาศัยการเกิดขึ้น ประ-
อะรูปิโน ธัมมา อิเม ธัมมา กุสะลา.
กอบด้วยเหตุด้วยผลเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน โดยไม่มีรูปอาศัย ธรรมทั้งหลายนี้ชื่อว่ากุศล.
........................................
คัดลอกจาก....หนังสือธรรมานุสรณ์
วัดถ้ำแฝด ต.เขาน้อย อ ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น