วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556

๗. พระสมันตะมหาปัฎฐาน (ตอน๑)


(๒๓ วันเทพพรหมสำเร็จ ๔๐ โกฎิ)

เหตุปัจจะโย,
ธรรมทั้งหลายหลั่งไหลมาแต่เหตุ  เพราะเหตุเป็นปัจจัยกุศลแลอกุศลทั้งปวง
หากหาเหตุช่วยอุดหนุนค้ำจุนมิได้แล้ว  ก็มิอาจบังเกิดขึ้นในจิตสันดานแห่ง
ฝูงสัตว์โลกทั้งปวง  เมื่อใดมีเหตุปัจจัยเป็นอุปการะแล้ว  กุศลแลอกุศลจึง
บังเกิดตั้งมั่นในกาลนั้น

             -  กุศล  ย่อมนำปฏิสนธิในฉกามาพจรสวรรค์  รูปพรหมสิบหกชั้น
                อรูปพรหมสี่ชั้นแลมนุษย์ทั้งหลาย

             -  อกุศล  ย่อมนำปฏิสนธิในอบายภูมิทั้งสี่  นรก  เปรต  
                กสุรกายแลสัตว์เดรัจฉาน,

อารัมะณะ  ปัจจะโย,
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง  ที่มีความยินดีพอใจเป็นอิฏฐารมณ์  ไม่ยินดีพอใจ
เป็นอนิฏฐารมณ์  ประกอบด้วยองค์  ๖  ประการ  คือ

            -  รูปารมณ์  คือ  รูปสรรพสิ่งทั้งปวง  ปรากฏเห็นรูปด้วย
               จักขุทวาร  รูปชั่วก็ดี ประณีตก็ดี  หยาบก็ดี  ละเอียดก็ดี  
               เป็นอารมณ์แห่งจิตพอใจและไม่พอใจ

            -  สัทธารมณ์  คือ  สรรพเสียงทั้งปวงปรากฏกระทบด้วย
               โสตทวาร  ย่อมเป็นอรมณ์แห่งจิตพอใจและไม่พอใจ

            -  คันธารมณ์  คือ  สรรพกลิ่นทั้งปวง  ปรากฎกระทบด้วยฆานะทวาร
                ย่อมเป็นอารม์แห่งจิตพอใจและไม่พอใจ

            -  รสารมณ์  คือ  สรรพรสทั้งปวง  ปรากฏกระทบชิวหาทวาร
               ย่อมเป็นอารมณ์แห่งจิต  พอใจและไม่พอใจ

            -  โผฎฐัพพารมณ์  คือ  สรรพสิ่งอันบุคคลสัมผัสถูกต้อง  
               ปรากฏกระทบด้วยกาย  ย่อมเป็นอารมณ์แห่งจิตพอใจแลไม่พอใจ

            -  ธัมมารมณ์  คือ  เหตุผลสรรพทั้งปวง  อันจะพึงรู้ด้วยใจมโนทวาร
               ย่อมเป็นอารมณ์แห่งจิตพอใจและไม่พอใจ

อะธิปะติ  ปัจจะโย,
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด  ย่อมมีอธิบดีเป็นปัจจัย  ถึงพร้อมด้วยความ
สำเร็จ  ๔  ประการ  คือ

          -  ฉันทาธิปติ  ความปรารถนาเป็นใหญ่ให้สำเร็จการทั้งปวง

          -  วิริยาธิปติ  ความเพียรเป็นใหญ่ให้สำเร็จการทั้งปวง

          -  จิตตาธิปติ  จิตเป็ใหญ่ให้สำเร็จการทั้งปวง

          -  วิมังสาธิปติ  ปัญญาเป็นใหญ่ให้สำเร็จการทั้งปวง

อะนันตะระ  ปัจจะโย,
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด  ประกอบด้วยจิตและเจตสิก  เกี่ยวเนื่องเป็นสัมปฏิจฉันนะจิต
เป็นลำดับกัน  จะหาจิตและเจตสิกอื่นใดกางกั้นมิได้  จิตดวงหนึ่งดับไปจิตดวงใด
ที่ใกล้เคียงย่อมเกิดขึ้น  ธรรมที่เป็นกุศลก่อนย่อมยังประโยชน์แห่งกุศลในปัจจุบัน

สะมะนันตะระ  ปัจจะโย,
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด  ประกอบด้วยจิตแลเจตสิก  เกี่ยวเนื่องเป็นปัญจวิญญาณ
ประดุจเห็นอยู่ใกล้  เกิดแต่พอเป็นอย่าง ๆ  ประดุจดังว่าเข้าสู่นิโรธสมาบัติฉันนั้น

สะหะชาตะ  ปัจจะโย,
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด  ประกอบด้วยจิตและเจตสิก  แลรูป  บังเกิดพร้อมกันแล้ว
บรรดาจิตแลเจตสิกจะสัมปยุตต์รวมเข้าด้วยกัน

อัญญะมัญญะ  ปัจจะโย,
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด  ประกอบด้วยจิตแลเจตสิกและรูปกลาป
อันอาศัยซึ่งกันแลกัน  ย่อมประชุมรวมกัน  จึงสำเร็จการอันเป็นกุศล
ด้วยกายกรรม  วจีกรรม  แลมโนกรรม

นิสสะยะ  ปัจจะโย,
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด  บังเกิดเป็นที่อาศัยของมโนธาตุ  แลมโนวิญญาณ  
ธรรมนั้นแลได้ชื่อว่านิสสยปัจจัย

อุปะนิสสะยะ  ปัจจะโย,
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด  บังเกิดเป็นที่อาศัยด้วยอุปาทายรูป ๒๔  ประการ
(ปสาทรูป ๕   วิสัยรูป ๔   ภาวรูป ๒   หทัยรูป ๑   ชีวิตรูป ๑   อาหาร ๑  
ปริจเฉทรูป ๑   วิญญัติรูป ๒   วิการรูป  ๓   ลักษณะรูป ๔)  ในมหาภูตรูป ๔
อันประกอบด้วย  ดิน  น้ำ  ลม  ไฟ  ธรรมนั้นแลได้ชื่อว่าอุปนิสสยปัจจัย



..........................................
 



       

               

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น