วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556

พระสมันตะมหาปัฏฐาน (ตอน ๓)


วิปากะ  ปัจจะโย,
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด  บุคคลได้กระทำแล้วด้วยกุศลจิต  อกุศลจิต  
ย่อมมีผลเป็นวิบากกรรมอาศัย  ทำดีมีวิบากเป็นกุศล  ทำชั่วมีวิบาก
เป็นอกุศล  เกิดวิปฏิสารเดือดร้อนใจทั้งภพนี้แลภพหน้า

อาหาระ  ปัจจะโย,
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด  มีปัจจัยอันนำมาซึ่งผล  เป็นเครื่องหล่อ
เลี้ยงชีวิต  ๔  ปรกการ  คือ

          -  กวฬิงการาหาร  อาหาร  คือ  คำข้าวที่กลืนกินเข้าไปหล่อ
             เลี้ยงร่างกาย  อาหารที่เป็นวัตถุ

          -  ผัสสาหาร  อาหาร  คือ  ผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา  
             มีอายตนะภายใน  อายตนะภายนอก  และวิญญาณกระทบกัน  
             ย่อมเกิดเป็นสุขบ้าง ทุกข์บ้าง  เป็นอุเบกขาบ้าง

          -  มโนสัญเจตนาหาร  อาหาร  คือ  ความจงใจกระทำให้เกิดกรรม  
             ให้พูด ให้คิดและให้กระทำ

          -  วิญญาณาหาร  อาหาร  คือ  วิญญาณ  เป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป  
             ตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  ใจ  แลรูป  รส  กลิ่น  เสียง  สัมผัส  
             ธรรมารมณ์  ดังนี้

อินทรียะ  ปัจจะโย,
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด  ทรงไว้ซึ่งความเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน

         -  ตา  เป็นใหญ่ในการเห็น รูป

         -  หู  เป็นใหญ่ในการได้ยิน

         -  จมูก  เป็นใหญ่ในการได้กลิ่น
        
         -  ลิ้น  เป็นใหญ่ในการลิ้มรส

         -  กาย  เป็นใหญ่ในการสัมผัส

         -  ใจ  เป็นใหญ่ในการรู้อารมณ์ยินดีไม่ยินดี

         -  สัทธา  เป็นใหญ่ในการเชื่อในพระรัตนตรัย

         -  วิริยะ  เป็นใหญ่ในความเพียร

         -  สติ  เป็นใหญ่ในการตั้งอยู่่ในความระลึกรู้

         -  ปัญญา  เป็นใหญ่ในความรู้สภาวะตามความเป็นจริง
            ของธรรมชาตินั้น

ฌานะ  ปัจจะโย,
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด  อันบุคคลกระทำแล้วด้วยการเพ่งอารมณ์จิตเป็นหนึ่ง  
มีอัปปนาสมาธิเป็นบาทแล้ว  เมื่อนั้นย่อมมีองค์ฌานบังเกิดขึ้น  คือ

         -  ปฐมฌาน  มีวิตก  วิจาร  ปิติ  สุข  เอกัคคตาา

         -  ทุติยฌาน  มีปิติ  สุข  เอกัคคตา

         -  ตติยฌาน  มีสุข  เอกัคคตา

         -  จตุตถฌาน  มีเอกัคคตา  แลอุเบกขา

         -  อากาสานัญจายตนฌาน  กำหนดอากาศหาที่สุดมิได้

         -  วิญญานัญจายตนฌาน  ฌานกำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้

         -  อากิญจัญยายตนฌาน  ฌานกำหนดภาวะไม่มีอะไร

         -  เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน  ฌานกำหนดภาวะมีสัญญา
            ก็ไม่ใช่  ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่

มัคคะ  ปัจจะโย,
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด  อันบุคคลกระทำแล้วปฏิบัติแล้ว  ย่อมถึงความดับทุกข์  
ย่อมถึงความเป็นอริยบุคคล  ละสังโยชน์ด้วยประการต่าง ๆ  ด้วยพระอริย
อัฏฐังคิกมรรค ๘  ประการ  คือ

        -  สัมมาทิฏฐิ  ปัญญาเห็นชอบในอริยสัจจ์สี่  ปัญญาเห็นชอบตามความ
           เป็นจริงว่า  ขันธ์ ๕  ไม่เที่ยง  ทำชั่วทำดีย่อมมีผล ดังนี้

        -  สัมมาสังกัปปะ  ความดำริที่จะออกจากกาม  จากโลภะ  โทสะ  โมหะ 
           ดำริในอันไม่พยาบาท  ดำริในอันไม่เบียดเบียน ดังนี้

        -  สัมมาวาจา  การเจรจาชอบ  เว้นประพฤติทางวาจา  ด้วยการพูดเท็จ  
           พูดส่อเสียด  พูดคำหยาบ  แลพูดเพ้อเจ้อ  ดังนี้

        -  สัมมากัมมันตะ  การงานชอบ  เว้นประพฤติชั่วทางกาย  ด้วยการฆ่าสัตว์  
           ลักทรัพย์  ประพฤติผิดในกาม  ดังนี้

        -  สัมมาอาชีวะ  การเลี้ยงชีวิตชอบ  เว้นจากการเลี้ยงชีวิตที่ผิดด้วย
           การโกงเขา  หลอกลวงเขา  สอพลอเขา  บีบบังคับขู่เข็ญเขา   ค้าคน  
           ค้ายาเสพติด  ค้ายาพิษ  สุรา  ดังนี้

        -  สัมมาวายามะ  ความเพียรชอบ  เพียรระวังบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด  
           มิให้เกิดขึ้น  (สังวรปธาน),  เพียรละบาป  อกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว  
           (ปหานปธาน),  เพียรเจริญทำกุศลกรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น  
           (ภาวนาปธาน),  เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว  ไม่ให้เสื่อมไปและ
           เพิ่มให้ไพบูลย์ (อนุรักขนาปธาน)  ดังนี้

        -  สัมมาสติ  ความระลึกชอบด้วยข้อปฏิบัติ  มีสติเป็นประธาน  กำหนด
           พิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง  ไม่ถูกครอบงำด้วย
           ความยินดียินร้าย  ด้วยอำนาจกิเลส  มี  ๔  ประการ  คือ

                  *  กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน  การตั้งสติกำนหดพิจารณากำกับรู้
                      เท่าทันกาย  แลเรื่องทางกาย

                  *  เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน  การตั้งสติกำหนดพิจารณากำกับ
                      รู้เท่าทันเวทนา                  

                  *  จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน  การตั้งสติกำหนดพิจารณารู้เท่าทันจิต
                      หรือสภาพและอาการของจิตนั้น

                  *  ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน  การตั้งสติกำหนดพิจารณากำกับดูรู้
                      เท่าทันธรรมนั้น

         -  สัมมาสมาธิ  การตั้งจิตมั่นชอบ  ด้วยการเพ่งอารมณ์  จนใจแน่วแน่  
            ย่อมบรรลุถึงฌาน ๔ ดังนี้.




.....................................
    


(ยังมีต่ออีก)







          



















        

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น