วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

๗.พระสมันตะมหาปัฏฐาน (ตอน ๔)


สัมปะยุตตะ  ปัจจะโย,
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด  เพราะอาศัยกุศลธรรม  กุศลธรรมย่อมเกิดขึ้นด้วย
เครื่องสนับสนุนที่เป็นเหตุ  เกิดพร้อมกันแล้วดับพร้อมกัน  ประกอบด้วย
ขันธ์ ๔  ขันธ์ไม่มีรูปปรากฏภายนอก

     ถ้าเวทนาแลสัญญาเกิดขึ้น  สังขารแลวิญญาณ  ก็เกิดขึ้นด้วย

     สังขารแลวิญญาณเกิดขึ้น  เวทนาแลสัญญาก็เกิดขึ้นด้วย

          -  เวทนา  คือ  การเสวยอารมณ์ความรู้สึกเป็นสุข  เป็นทุกข์หรือ
         ไม่ทุกข์ไม่สุข

          -  สัญญา  คือ  ความได้หมายรู้  จำรูป  เสียง  กลิ่น  รส  สัมผัส

          -  สังขาร  คือ  ความคิด  ความมีเจตนาดีบ้าง  
          ชั่วบ้าง  (เจตสิก ๕๒ ดวง)

          -  วิญญาณ  คือ  ความรับรู้อารมณ์ทางตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  ใจ 
          (จิต ๘๙  หรือ ๑๒๑  ดวง)

          (รูป  คือ  ร่างกายอันสงเคราะห์ด้วยธาตุ ๔ คือ  ดิน  น้ำ  ไฟ  ลม  
         ประชุมเป็นกายพร้อมทั้งรูปที่อาศัยธาตุทั้ง ๔  ปรากฏ  เช่น  
         ความเป็นหญิง  ความเป็นชาย)

วิปปะยุตตะ  ปัจจะโย,
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด  มีรูป  ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่ไม่มีรูป  ธรรมที่ไม่มีรูป  
ย่อมเป็นปัจจัยแห่งธรรมมีรูป

อัตถิ  ปัจจะโย,
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด  เพราะอาศัยกายอันประกอบด้วย ดิน  น้ำ  ไฟ  ลม  
มีเวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ  เป็นปัจจัยซึ่งกันและกันตั้งอยู่ได้ ๑ ปีบ้าง 
๑๐ ปีบ้าง  ๕๐ ปีบ้าง  ๑๐๐ ปีบ้าง  ก็เสื่อมสลายไป (ตาย)  อันจัดเป็นบุคคล
เจ้ามารยา  ให้มหาชนเหลวไหล  ย่อมสำแดงรูปไม่จริงให้เป็นของจริง  
ล่อใจเป็นสตรีบุรุษ  ติดพันอยู่ในสมมุติ  แน่นหนา  หลงรัก  หลงชัง  ต้องบริหาร
ด้วยผ้านุ่งห่ม  อาหาร  ที่อยู่อาศัย  ยารักษาโรค  ด้วยกรัชกายต้องบำบัดเวทนา
ทั้ง ๔  ด้วยเปลี่ยนอิริยาบทยืน  เดิน  นั่งนอน  พักผ่อนแก้เมื่อยขบ  ไม่รู้จบรู้สิ้นนี้

นัตถิ  ปัจจะโย,
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด  จิตและเจตสิกดับไปในขณะกระชั้นชิด  ย่อมเป็นปัจจัย
แห่งธรรมที่จิตและเจตสิกเกิดขึ้นเฉพาะหน้า  อันว่าเป็นจิตและเจตสิก  คือ

           -  จิต  คือ  ธรรมชาติที่เป็นรูปรับและส่งผลของเจตสิก  ให้เกิดกรรม
ทั้งกลางคืนและกลางวัน  ภพนี้และภพหน้ามีจำนวน ๘๙ ดวง  (๑๒๑  ดวง)

           -  เจตสิก  คือ  ธรรมชาติที่เป็นรูปส่งและรับประกอบกับจิต  ส่วนดี
เรียกว่า  กุศล  ส่วนชั่วเรียกว่า  อกุศล  เป็นกลาง ๆ  ไม่ดีไม่ชั่วเรียกว่า  
อัพพยากฤต  มี ๕๒  ดวง

วิคะตะ  ปัจจะโย,
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด  จิตแลเจตสิกย่อมพ้นไปหมดไป  ในขณะกระชั้นชิด  
ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าโดยฐานะ

อะวิคะตะ  ปุจจะโย,
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด  เป็นเครื่องสนับสนุนที่ไม่ปราศจาก  ไม่พ้นไป  หมด
ไปของธรรมชาติที่รู้อารมณ์  (จิตเจตสิก)  ตามสภาพความนึกคิด  เข้าประกอบ
กับอาการเกิด  ความโลภ  ความโกรธ  ความหลง  เมตตา  สติ  ปัญญา ดังนี้.



                                         จบพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์

..........................................................

คัดลอกจาก....หนังสือธรรมานุสรณ์
ทำวัตร  สวดมนต์  ธรรมภาวนา
วัดถ้ำแฝด  ต.เขาน้อย  อ.ท่าม่วง  จ.กาญจนบุรี





















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น