(๑๒ วัน เทพพรหมสำเร็จ ๒ โกฎิ)
ปัญจักขันธา,
ขันธ์ทั้ง ๕ คือ,
รูปักขันโธ,
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งของธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ที่ต้องสลายไป
เพราะปัจจัยต่าง ๆ อยู่เป็นนิจ,
เวทะนากขันโธ,
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งของความสบายกาย ความไม่สบายกาย
ความสบายใจ ความไม่สบายใจ แลความรู้สึกที่เป็นอุเบกขา, (เฉย ๆ)
สัญญากขันโธ,
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งของความจำได้หมายรู้ มีประการต่าง ๆ
- อะนิจจะสัญญา กำหนดรู้ความไม่เที่ยงของสัญญา,
- อะนัตตะสัญญา กำหนดรู้ความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง,
- อะสุภะสัญญา กำหนดรู้ความไม่งามแห่งกาย,
- อาทีนะวะสัญญา กำหนดรู้โทษแห่งกาย คือ อาพาธต่าง ๆ,
- ปะหานะสัญญา กำหนดรู้เพื่อละอกุศล วิตก และบาปกรรม,
- วิราคะสัญญา กำหนดรู้อริยมรรคว่าเป็นธรรมอันสงบประณีต,
- นิโรธะสัญญา, กำหนดรู้นิโรธอริยผลว่าเป็นธรรมอันสงบประณีต,
- สัพพะโลเก อะนะภิระตะสัญญา กำหนดรู้ความไม่น่า
เพลิดเพลินในโลกทั้งปวง,
- สัพพะสังขาเรสุ อะนิฏฐะสัญญา กำหนดรู้ความไม่น่า
ปรารถนาในสังขารทั้งปวง,
- อานาปานัสสะติสัญญา กำหนดรู้สติมีลมหายใจ
เข้าออกอยู่เป็นนิจ,
สังขารักขันโธ,
ขันธ์ อันถูกปัจจัยปรุงแต่งแล้ว จะเป็นนามรูปธรรมก็ตาม การกระทำดี
ชั่วปรุงแต่งทางกาย วาจาและใจ (กายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร)
บังเกิดผลคือ อุปาทินนะกะสังขาร สังขารที่ไม่มีกรรมเป็นนาย,
วิญญาณักขันโธ,
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งของความรู้แจ้งอารมณ์ การเห็น การได้ยิน
การได้กลิ่น การรู้รส การรู้สิ่งต้องการ แลการรู้เรื่องของใจ,
ตัตถะ กะตะโม รูปักขันโธ,
ก็บรรดาขันธ์ทั้งงหมด รูปขันธ์เป็นอย่างไรเล่า,
ยังกิญจิ รูปัง,
รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่พึงรู้ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ,
อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง,
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตแลปัจจุบัน,
อัชฌัตตัง วา,
ภายในก็ตาม,
พะหิทธา วา,
ภายนอกก็ดี,
โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา,
หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม,
หีนัง วา ปะณีตัง วา,
เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม,
ยัง ทูเร วา สันติเก วา,
อยู่ไกลก็ตาม อยู่ใกล้ก็ตาม,
ตะเทกัชณัง อะภิสัญญหิตวา,
ย่อมกล่าวรวมกัน เรียกว่ารูปขันธ์,
อะภิสังขิปิตวา อะยัง วุจจะติ,
เหตุที่เรียกว่ารูป เพราะเหตุว่ามีสภาวะ
รูปักขันโธฯ
ฉิบหายด้วยร้อน (สัตว์นรกร้อนอยู่เสมอ) น้ำ (เปรตปากเล็กเท่ารูเข็ม) โรคธรรมชาติ ดังนี้.
.......................................................
คัดลอกจาก.....หนังสือธรรมานุสรณ์
วัดถ้ำแฝด ต.เขาน้อย อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี
ปัญจักขันธา,
ขันธ์ทั้ง ๕ คือ,
รูปักขันโธ,
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งของธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ที่ต้องสลายไป
เพราะปัจจัยต่าง ๆ อยู่เป็นนิจ,
เวทะนากขันโธ,
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งของความสบายกาย ความไม่สบายกาย
ความสบายใจ ความไม่สบายใจ แลความรู้สึกที่เป็นอุเบกขา, (เฉย ๆ)
สัญญากขันโธ,
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งของความจำได้หมายรู้ มีประการต่าง ๆ
- อะนิจจะสัญญา กำหนดรู้ความไม่เที่ยงของสัญญา,
- อะนัตตะสัญญา กำหนดรู้ความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง,
- อะสุภะสัญญา กำหนดรู้ความไม่งามแห่งกาย,
- อาทีนะวะสัญญา กำหนดรู้โทษแห่งกาย คือ อาพาธต่าง ๆ,
- ปะหานะสัญญา กำหนดรู้เพื่อละอกุศล วิตก และบาปกรรม,
- วิราคะสัญญา กำหนดรู้อริยมรรคว่าเป็นธรรมอันสงบประณีต,
- นิโรธะสัญญา, กำหนดรู้นิโรธอริยผลว่าเป็นธรรมอันสงบประณีต,
- สัพพะโลเก อะนะภิระตะสัญญา กำหนดรู้ความไม่น่า
เพลิดเพลินในโลกทั้งปวง,
- สัพพะสังขาเรสุ อะนิฏฐะสัญญา กำหนดรู้ความไม่น่า
ปรารถนาในสังขารทั้งปวง,
- อานาปานัสสะติสัญญา กำหนดรู้สติมีลมหายใจ
เข้าออกอยู่เป็นนิจ,
สังขารักขันโธ,
ขันธ์ อันถูกปัจจัยปรุงแต่งแล้ว จะเป็นนามรูปธรรมก็ตาม การกระทำดี
ชั่วปรุงแต่งทางกาย วาจาและใจ (กายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร)
บังเกิดผลคือ อุปาทินนะกะสังขาร สังขารที่ไม่มีกรรมเป็นนาย,
วิญญาณักขันโธ,
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งของความรู้แจ้งอารมณ์ การเห็น การได้ยิน
การได้กลิ่น การรู้รส การรู้สิ่งต้องการ แลการรู้เรื่องของใจ,
ตัตถะ กะตะโม รูปักขันโธ,
ก็บรรดาขันธ์ทั้งงหมด รูปขันธ์เป็นอย่างไรเล่า,
ยังกิญจิ รูปัง,
รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่พึงรู้ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ,
อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง,
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตแลปัจจุบัน,
อัชฌัตตัง วา,
ภายในก็ตาม,
พะหิทธา วา,
ภายนอกก็ดี,
โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา,
หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม,
หีนัง วา ปะณีตัง วา,
เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม,
ยัง ทูเร วา สันติเก วา,
อยู่ไกลก็ตาม อยู่ใกล้ก็ตาม,
ตะเทกัชณัง อะภิสัญญหิตวา,
ย่อมกล่าวรวมกัน เรียกว่ารูปขันธ์,
อะภิสังขิปิตวา อะยัง วุจจะติ,
เหตุที่เรียกว่ารูป เพราะเหตุว่ามีสภาวะ
รูปักขันโธฯ
ฉิบหายด้วยร้อน (สัตว์นรกร้อนอยู่เสมอ) น้ำ (เปรตปากเล็กเท่ารูเข็ม) โรคธรรมชาติ ดังนี้.
.......................................................
คัดลอกจาก.....หนังสือธรรมานุสรณ์
วัดถ้ำแฝด ต.เขาน้อย อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น