เสขะปฏิปทา คือ ทางดำเนินของพระอริยบุคคล
ยังมิบรรลุอรหัตตผล มีจรณะ ๑๕ เป็นไปเพื่อถึงซึ่งวิชชา
อันประกอบด้วยประการต่าง ๆ ดังนี้
- สีลสัมปทา การถึงพร้อมด้วยศีลประการต่าง ๆ
- อุบาสกอุบาสิกา ย่อมรักษากาย วาจา เรียบร้อยปฏิบัติ
ในทำนองคลองธรรม
- สงฆ์สมณะ ย่อมสำรวมในพระปาฏิโมกข์ มิประพฤติ
ย่อหย่อนรุ่มร่าม เป็นผู้เห็นภัยอาบัติเพียงเล็กน้อย
(บุหรี่มีโทษควรงดสูบเด็ดขาด) เป็นผู้รู้ซึ่งถึงที่โคจรแลอโคจร
- อินทรีย์สังวร การสำรวมอินทรีย์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
มิให้ยินดียินร้ายเข้าครอบงำ
- โภชนมัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการ
บริโภค พิจารณาแล้วย่อมบริโภค แลเพ่งประโยชน์อันเกิด
จากอาหารนั้น ไม่มักกินด้วยการขาดสติดังนี้
- ชาค์ริยานุโยค ประกอบด้วยความเพียร มิเห็นแก่
การหลับนอน มิให้ความง่วงเหงา ซึมเซาเป็นเจ้ากรรม
* ยามกลางวัน ย่อมชำระจิตจากนิวรณ์ด้วย
เดินบ้าง นั่งบ้าง ตลอดเช้าจรดเย็น
* ยามกลางคืน มียามต้น ย่อมชำระล้าง
จิตที่คิดกุศล อกุศล ด้วยธรรม
* ยามกลาง พักผ่อนหลับนอนด้วยอริยสีหไสยาสน์
* ยามสุดท้าย ย่อมปลุกจิตแลกายบำเพ็ญเพียรมิย่นย่อ
- สัทธา ความเชื่อในการตรัสรู้ของพระตถาคตเจ้า
เชื่อกรรมแลผลของกรรมนั้น
- หิริ ความเป็นผู้ละอายต่อกาย วาจา แลใจทุจริต
มีความสยะแสยงต่อบาปอกุศลทั้งปวง
- โอตตัปปะ ความเป็นผู้เกรงกลัวต่อผลของบาปอกุศลทั้งปวง
- พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้ยินแลฟังมาก คือ ฟังธรรมมี
ความไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด
แลยังกุศลธรรมให้เกิดขึ้น และไม่ทอดธุระในกุศลธรรมนั้น
- สติ ความระลึกได้ด้วยใจ ถึงกิจที่ทำ แลคำที่พูด
แล้วแม้นานได้
- ปัญญา คือ อริยปัญญารู้แจ้งความเกิดดับแห่งสังขาร
ภายใน มีปรีชาหยั่งรู้ธรรมดานิยม ฉลาดรู้เหตุรู้ผลแห่ง
ความเจริญแลความเสื่อม แล้วย่อมแจ้งประจักษ์ใจ
- ฌาน การเพ่งกระแสอารมณ์ด้วยใจแน่วแน่ผ่าน
อัปนาสมาธิ บังเกิดปูรณะสังขยาประณีตแล้วบังเกิด
ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน แลจตุตถฌาน ดังนี้แล
อะภะยูปะระโต,
คือ บุคคลผู้มีปัญญากล้าหาญ ทำลายขันธสันดานเป็นสมุจเฉทปหาน
ตัดบาปธรรมทั้งปวง ล่วงถึงประโยชน์ยิ่งใหญ่ หมดเวรหมดภัย
เข้าถึงวิมุติหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายทั้งปวง (อรหันต์)
ภัพพาคะมะโน,
คือ บุคคลผู้มีวาสนาบารมีน้อย มิอาจทำให้แจ้งซึ่งมรรคแลผล
มิอาจเป็นอริยบุคคลในสมัยปัจจุบันชาตินี้ เป็นผู้อาภัพอับวาสนา
ด้วยบุพกรรม ๑๑ ประเภท คือ
- เถยยสังวาส บุคคลลักเพศ คือ บุคคลใดกระทำอันหนึ่ง
อันใดก็ห้ามอุปสมบท ห้ามมรรคผลผลผลนิพพาน
มิอาจจะให้สำเร็จมรรคผล ว่าโดยพิสดารของบุคคล
ลักเพศมี ๓ ประการ คือ
* ลิงคเถนะกะ การเอาผ้ากาสาวพัสตร์นุ่งห่มเอง
แล้วเที่ยวประกาศให้ภิกษุสามเณร นับถือยินดีรับอภิวาท
แลอาสนะตามลำดับพรรษา
* สังวาสเถนะกะ บรรพชาเป็นสามเณรแล้วตั้งตัว
เป็นพระภิกษุ เที่ยวประกาศไป กระทำอุโบสถแล
ปวารณากรรมด้วยสงฆ์ทั้งปวง
* อุภัยเถนะกะ บุคคลใด เอาผ้ากาสวภัสตร์
นุ่งห่มเอง ตั้งตนเป็นภิกษุนับวัสสาอายุ
ยินดีรับอภิวาทและอาสนะ
- บัณเฑาะว์ บุคคลไม่ปรากฏว่าเป็นเพศชายหรือเพศหญิง
เป็นกะเทยโดยกำเนิด ชายผู้ถูกตอน (ขันที)
ชายผูมีราคะกล้าประพฤตินอกจารีตในทางเสพกาม
- ติตถิยปักกันตะ ภิกษุอันใดไปสู่สำนักเดียรถีย์
แลถือเอาในลัทธิข้างเดียรถีย์นั้น
- อุภโตพยัญชนก คือ บุคคล ๒ พวก
* อิตถีอุภโตพยัญชนก ผู้มีเพศเดิมเป็นสตรี
มีกายแลใจเป็นทั้งบุรุษแลสตรี
* บุรุษอุภโตพยัญชนก ผู้มีเพศเดิมเป็นบุรุษ
มีกายแลใจเป็นทั้งสตรีและบุรุษ
- เดียรฉาน เปมื่อปฏิสนธิเป็นอเหตุกะ
ห้ามบรรพชาและอุปสมบท (เช่น พญานาค)
- ภิกขุณีทูสกะ บุคคลผู้ประทุษร้ายแก่ภิกษุณี
- ปิตุฆาต บุคคลผูฆ่าบิดา
- มาตุปิฆาต บุคคลผู้ฆ่ามารดา
- อรหันตฆาต บุคคลผู้ฆ่าพระอรหันต์โลหิตุปบาท บุคคล
ผู้กระทำให้เลือดห้ออันบังเกิดขึ้นในพระวรกายของ
พระผู้มีพระภาค
..............................
(ยังมีต่ออีก)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น