ปุเรชาตะ ปัจจะโย,
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด มีอุปการะแก่ธรรมบังเกิดขึ้นก่อนแล้ว
เป็นปัจจัยอันเกิดขึ้นภายหลัง คือ
- จักขุปสาท บังเกิดก่อน ย่อมเป็นปัจจัยให้ จักขุวิญญาณเกิด
- โสตปสาท บังเกิดก่อน ย่อมเป็นปัจจัยให้ โสตวิญญาณเกิด
- ฆานปสาท บังเกิดก่อน ย่อเป็นปัจจัยให้ ฆานวิญญาณเกิด
- ชิวหาปสาท บังเกิดก่อน ย่อมเป็นปัจจัยให้ ชิวหาวิญญาณเกิด
- กายปสาท บังเกิดก่อน ย่อมเป็นปัจจัยให้ กายวิญญาณเกิด
- หทัยวัตถุ บังเกิดก่อน ย่อมเป็นปัจจัยให้ มโนธาตุวิญญาณเกิด
(ปสาทะ ความเลื่อมใส ผ่องใส ชื่นบาน โปร่งโล่งบาง
ปราศจากความอึดอัดขุ่นมัว)
ปัจฉาชาตะ ปัจจะโย,
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด บังเกิดภายหลัง ย่อมเป็นอุปการะ
แก่ธรรมอันเกิดก่อน คือ
- จักขุวิญญาณ บังเกิดก่อน ย่อมเป็นปัจจัยให้ จักขุปสาทเกิด
- โสตวิญญาณ บังเกิดก่อน ย่อมเป็นปัจจัยให้ โสตปสาทเกิด
- ฆานวิญญาณ บังเกิดก่อน ย่อมเป็นปัจจัยให้ ฆานปสาทเกิด
- ชิวหาวิญญาณ บังเกิดก่อน ย่อมเป็นปัจจัยให้ ชิวหาปสาทเกิด
- กายวิญญาณ บังเกิดก่อน ย่อมเป็นปัจจัยให้ กายปสาทเกิด
- มโนวิญญาณ บังเกิดก่อน ย่อมเป็นปัจจัยให้ หทัยวัตถุเกิด
อาเสวะนะ ปัจจะโย,
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด มีการเสพซึ่งอารมณ์ต่ ๆ กันไป จิตอันใดเกิดก่อน
ย่อมเป็นปัจจัยให้จิตอันนั้นบังเกิดภายหลัง
- ปฐมฌาน เกิดแล้ว ด้วยสิ่งใดเป็นอารมณ์ จะเป็นรูป เสียง
กลิ่น รส สัมผัส ทุติยฌานจะบังเกิดขึ้น
- ทุติยฌาน เกิดขึ้นแล้ว ตจิยฌานจะบังเกิดขึ้น
- ตติยฌาน เกิดขึ้นแล้ว จตุตถฌานจะบังเกิดขึ้น
- จตุตถฌาน เกิดขึ้นแล้ว อากาสานัญจายตนฌานจะบังเกิดขึ้น
- อากาสานัญจายตนฌาน เกิดขึ้นแล้ววิญญานัญจายตน
ฌานจะบังเกิดขึ้น
- วิญญาณัญจายตนฌาน เกิดขึ้นแล้ว อากิญจัญญายตน
ฌานจะบังเกิดขึ้น
- อากิญจัญญายตนฌานะ เกิดขึ้นแล้ว เนวสัญญานา
สัญญายตนฌาน จะบังเกิดขึ้น ดังนี้
กัมมะ ปัจจะโย,
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด มีกุศลจิตเป็นปัจจัยให้บังเกิดปฏิสนธิแห่งสัตว์ทั้งปวง
ในกามาวจภพ แลอรูปาวจรภพ ฉันใดธรรมอันเป็นอกุศลย่อมเป็นปัจจัยให้เกิด
ปฏิสนธิในจตุรบาย นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ฉันนั้น
กรรม คือ การกระทำที่เป็นกุศล อกุศลแลอัพยากฤต ย่อมจำแนกประเภท
ดังนี้ ว่า
- ทิฏฐธัมมะเวทนิยกรรม กรรมอันบุคคลกระทำแล้ว ย่อมให้ผลใน
ชาติปัจจุบันทันใด มิต้องรอในภพชาติต่อไป,
- อุปปัชชเวทนิยกรรม กรรมอันบุคคลกระทำแล้ว ย่อมให้ผลใน
ชาติต่อไปเป็นลำดับจากชาติปัจจุบัน
- อปราปรเวทนิยกรรม กรรมอันบุคคลกระทำแล้ว ย่อมให้ผล
ในภพน้อยภพใหญ่ สิบชาติ ร้อยชาติ พันชาติ หมื่นชาติ
แสนชาติบ้าง ได้ช่องได้โอกาสเมื่อใดก็ให้ผลเมื่อนั้น
ดุจนายพรานปล่อยสุนัขไล่เนื้อ ทันเมื่อไรก็กัดเมื่อนั้นแล
- ครุกรรม กรรมอันบุคคลกระทำแล้วในฝ่ายกุศลฌานสมาบัติ
ย่อมสำเร็จประโยชน์ กรรมหนักในฝ่ายอกุศลอนันตริยกรรม
ย่อมมีทุคติเป็นที่ไปฝ่ายเดียว
- พหุลกรรม กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยความเคยชิน กระทำเนือง ๆ
ก็ดี ค่อย ๆ มากขึ้นก็ดี กุศลแลอกุศลย่อมครอบงำเสีย กรรมฝ่ายไหน
มีกำลังมากก็ครอบงำฝ่ายนั้น
- ยถาสันนกรรม กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยกุศลแลอกุศล เมื่อใกล้
ดับขันธ์ก็ดี แม้ฝ่ายไหนมีกำลังน้อย ก็อาจให้ผลก่อนกรรมทั้งปวง
(เสมือนโคเฒ่า แต่อยู่ปากคอก อาจจะออกจากคอกก่อน ทำบาปมาก
บุญช่วยก่อนตาย)
- กตัตตาปนกรรม กรรมอันบุคคลกระทำแล้วโดยสักแต่ว่าทำ กรรมที่
เป็นกุศลแลอกุศลก็ตาม มิได้จงใจให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ย่อมให้ผล
ต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่น เปรียบเสมือนคนบ้ายิงลูกศร ย่อมไม่มีความหมาย
จะให้ถูกใคร
- ชนกกรรม กรรมอันบุคคลกระทำแล้ว ที่เป็นกุศลแลอกุศล ย่อมเป็น
ตัวแต่งสัตว์ให้ถือกำเนิดเกิดในภพใหม่ เมื่อสิ้นอัตภาพภพนี้ หรือกรรม
ปฏิสนธิแห่งสัตว์ทั้งปวง ตามติดมาสนองในชาติปัจจุบัน
- อุปัตถัมภกกรรม กรรมอันบุคคลกระทำแล้ว ที่เป็นกุศลแลอกุศล ที่เข้า
ช่วยสนับสนุนซ้ำเติมต่อจากชนกกรรม เสมือนแม่นมเลี้ยงทารกที่เกิด
จากผู้อื่น ถ้ากรรมดีก็สนับสนุนให้ดีขึ้น ถ้ากรรมชั่วซ้ำเติมย่อมเลวลงไป
- อุปปัฬกกรรม กรรมอันบุคคลกระทำแล้ว ที่เป็นกุศลแลอกุศล ย่อมบีบ
คั้นการให้ผลแห่งชนกกรรม และอุปัตถัมภกกรรมที่ตรงข้าม ให้แปรเปลี่ยน
ไป เป็นกรรมดีก็บีบคั้นให้อ่อนลง ไม่รับผลเต็มที่ เป็นกรรมชั่วก็กีดกัน
ให้ทุเลา ดังนี้
- อุปฆาตกรรม กรรมอันบุคคลกระทำแล้ว ที่เป็นกุศลแลอกุศล เข้ามา
ตัดรอนกรรมที่มีกำลังแรง เข้าตัดรอนการให้ผลของชนกกรรม หรือ
อุปัตถัมกกรรม เป็นกรรมที่ฆ่าซึ่งกรรมอันอื่น แล้วแลอุปฆาตกรรมจะให้
ผลด้วยตนเอง
...................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น